หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค (Helmet)

        เมื่อพูดถึง  “helmet”  บางคนอาจนึกถึงหมวกเหล็กของอัศวินขี่ม้าในยุคโบราณเพื่อใช้ป้องกันภัยขณะต่อสู้กับข้าศึก แต่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่ได้ต่อสู้อยู่บนหลังม้าและเดินทางโดยอาศัยยานยนต์แทนม้า ผู้ขับขี่ยานยนต์ยังคงใส่ helmet หรือหมวกกันน็อคเพื่อป้องกันภัยบริเวณศีรษะราวกับอัศวินม้าเหล็กก็ไม่ปาน หมวกกันน็อคจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญนอกเหนือจากเสื้อแจ็คเก็ต  แว่นตา  ถุงมือหรือรองเท้าบู๊ตซึ่งผู้ขับขี่มอเตอร์ไซใช้ป้องกันภัยในขณะขับขี่เช่นเดียวกับเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์    แต่สำหรับนักแข่งรถแล้วหมวกกันน็อคเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยามที่นั่งอยู่ในรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง
 เมื่อเกิดอุบัติเหตุหมวกกันน็อค  สามารถป้องกันศีรษะผู้ขับขี่โดยอาศัยการดูดซับและถ่ายเทแรงกระแทกของวัสดุ วัสดุชั้นนอกหรือ “shell” ทำหน้าที่การป้องกันการเจาะกระแทกของวัสดุแหลมคมและป้องกันการเสียดสีอย่างแรง   โดยดูดซับแรงกระแทกขั้นต้นที่เกิดจากอุบัติเหตุ   วัสดุชั้นนอกนี้ทำจากพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนตขึ้นรูปด้วยวิธีการฉีดผ่านแบบ   และอาจทำมาจากไฟเบอร์กลาส   หมวกกันน็อครุ่นพิเศษที่ต้องการความแข็งมากๆ   ทำจากวัสดุคอมโพสิต (composit) ชนิด carbon – dyneema  ซึ่งเป็นเส้นใยที่แข็งแรงที่สุดเท่าที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้
หมวกกันน็อคที่ทำจากพลาสติกขนาดเบาราคาที่ถูกกว่าหมวกกันน็อคที่ทำจากไฟเบอร์กลาสและ kevar  แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า บางครั้งมีการใส่สีลงไปในเน้อพลาสติกหรือลวดลาย  จึงต้องระวังหากอยู่ใกล้เปลวไฟหรือน้ำมันส่วนวัสดุชั้นในทำจากโฟมโพลิสไตรีนที่เรียกว่า “ EPS foam “ ย่อมาจาก expanded polystyrene foam หรือเรียกว่า “ftyrofoam”   หนาประมาณ 1 นิ้ว   ชั้นโฟมนี้เป็นชิ้นส่วนสำคัญของหมวกกันน็อค   เนื่องจากโพลิสไตรีนมีสมบัติที่ไม่คืนตัวและมีการกระจายแรง   เมื่อดูดซับแรงกระแทกจึงเกิดการยุบตัวถ้าหากยิ่งดูดซับแรงกระแทกมากเท่าไหร่   การที่แรงจะส่งแรงไปถึงศีรษะผู้สวมใส่ย่อมลดน้อยลง   นอกจากนั้นชั้นภายในหมวกที่สัมผัสกับศีรษะนี้  อาจมีการบุผ้าหรือกำมะหยี่ไว้ภายในหมวกอีกชั้นหนึ่งเพื่อความนุ่มสบายยามสวมใส่อีกด้วย

          นอกจากวัสดุรับแรงกระแทกทั้ง 2 ชั้นแล้วผู้สวมใส่หมวกกันน็อค ควรพิจารณาถึงขนาดที่พอดีกับศีรษะและความกระชับของสายรัดใต้คางด้วยปัจจุบันมีการออกแบบหมวกกันน็อคหลากหลายรูปแบบ   ได้แก่ แบบครึ่งใบที่ปิดส่วนบนที่ปิดเฉพาะส่วนบนของศีรษะ แบบเต็มใบที่ปิดส่วนบนที่ปิดส่วนบน ท้ายทอย ขากรรไกร และแบบปิดเต็มหน้าไปถึงบริเวณคางของผู้สวมใส่หมวกกันน็อคบางรุ่นมีช่องเสียบหูฟังเข้ากับตัวหมวกเพื่อฟังวิทยุได้   หรือมีการเสริมด้านข้างของหมวกด้วยวงแหวนอลูมิเนียมเพื่อให้หมวกแข็งแรงขึ้นและลดแรงกระแทกด้านข้าง
  การเลือกหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั้น   มีมาตรฐานกำหนดในแต่ประเทศ   สำหรับประเทศไทยได้กำหนดเป็นมาตรฐาน มอก. 369-2539  โดยมาตรฐานได้กำหนดลักษณะที่สำคัญของหมวกกันน็อคไว้หลายประการเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดอุบัติเหตุต่อศีรษะของผู้สวมใส่เป็นสำคัญเช่น หมวกกันน็อคมาตรฐานต้องมีความแข็งแรง  น้ำหนักเบาไม่เกิน 2 กิโลกรัม   มีรูระบายอากาศ  มีช่องฟังเสียง  บังลมต้องเป็นวัตถุโปร่งใสและไม่มีสี   เป็นต้น  ดังนั้น   หมวกกันน็อคที่ผลิตขึ้นมาจึงต้องมีการทดสอบตามมาตรฐานก่อนออกจำหน่าย  ได้แก่   การทดสอบแรงกระแทกและความสามารถในการดูดซับแรงกระแทก (impact)   ความทนทานต่อการเจาะทะลุจากวัตถุมีคม  (penetration)   ความกระชับในการสวมใส่ (retention)   และการมองเห็นขณะสวมใส่   (peripheral  vision)   ซึ่งอย่างน้อยควรมีค่า 120 องศา เนื่องจากปกติค่ามุมมองการเห็นของตามนุษย์มีค่าระหว่าง 110-115 องศา ในต่างประเทศหมอกกันน็อคจำเป็นต้องมีวัสดุสะท้อนแสงตามขนาดที่กำหนดติดไว้เพี่อความปลอดภัยยามค่ำคืนอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น