โครงสร้างหมวก โดยทั่วไปแล้วเปลือกนอกของหมวกกันน็อคทำมาจากวัสดุ polycarbonate และ Plastic มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากราคาถูกส่วนวัสดุ Carbon Fiber, Carbon Kevlar, Fiberglass นั้นจะมีราคาแพงจึงจะถูกใช้เป็นโครงสร้างหมวกที่มีคุณภาพสูงและราคาแพงตามไปด้วย
ฉนวนหุ้มศีรษะ (Liner) เลือกที่ถอดและเปลี่ยน Liner ข้างในได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ สัก 2 ปีขึ้นไป Liner ย่อมบางลงไปจึงควรจะเปลี่ยนเพื่อให้กระชับขึ้นมา Liner ด้านในควรนุ่มสบาย ควรถอดเปลี่ยนและทำความสะอาดได้ เพราะการสวมใส่หมวกกันน็อคนั้นมีความอับชิ้นสูง อาจจะมีกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
วัสดุช่วยลดแรงกระแทก (Expandable Polystyrene,EP8) ส่วนใหญ่เป็นโฟมอยู่ด้านใน Liner บางยี่ห้อเป็นแผ่นโฟมทั้งแผ่น บางยี่ห้อทำโฟมเป็นร่องเพื่อลดแรงกระแทก แต่สุดท้ายมันก็คือโฟมซึ่งสามารถแตกหักได้เสมอและมีการเสื่อมสภาพ นั้นคือเหตุผลที่สำคัญว่าทำไมเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เราจึงจำเป็นต้องมีหมวกกันน็อคใหม่
ขนาดและความพอดี ควรทดลองสวมดูก่อนซื้อ แม้ว่าจะรู้ขนาดของศีรษะตัวเองแล้วก็ตาม หมวกต้องกระชับพอดี ไม่หลวมเมื่อคาดสายรัดคางแล้ว (ควรบีบบนิดหน่อย เพราะใช้ไปสักพักฟองน้ำที่แก้มจะยุบตัวตามขนาดศีรษะ) ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองเอามือผลักหมวกดูว่าหัวเรากับหมวก หันไปด้วยกันหรือเปล่า ถ้าหันไปตามมือเฉพาะหมวก ก็แสดงว่าไม่พอดี ที่ต้องย้ำว่าต้องฟิตพอดีเพราะ หากเกิดอุติเหตุจริงๆ หมวกที่พอดีกับหัวของเราจะไม่มีช่องว่าง ให้หัวขยับได้ แรงกระแทกจะซึมซับได้ดีกว่า
มาตรฐานการรับรอง โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆ จะปิดโชว์ที่ขอบ ๆ หมวกกันน็อค มาตรฐานความปลอดภัย สำหรับหมวกกันน็อคที่ใช้ในการขับขี่มอเตอร์ไซต์บนท้องถนนโดยตรง คือ D.O.T เป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานอื่นๆได้แก่ SNELL ของญี่ปุ่น ECE R22.05 เป็นสหภาพยุโรป (EU) ส่วน มอก. มาตรฐานของไทยนั้นกำลังจะปรับเปลี่ยนเป็นมาตรฐาน ECE R22.05 ให้สากลมากขึ้น
อื่นๆ ควรเลือกหมวกกันน็อคที่มีช่องระบายลม และควรเปิดใช้งานบ้างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรจะเลือกกระบังลมที่เป็นแบบ Anti-fog (กันฝ้า) ก็จะดีมาก สายรัดคางควรจะเป็นแบบร้อยห่วงกลับจะดีกว่าแบบอื่น แบบคลิปล็อคอาจมีโอกาสหลุดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น