หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สวมหมวกนิรภัย ถูกวิธี ลดเจ็บ - ลดตายจากอุบัติเหตุ

            กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ และการเสียชีวิตกรณีประสบอุบัติเหตุทางถนน โดยให้ใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ ที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมาย มอก. กำกับ  ไม่นำหมวกที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือกระแทกอย่างแรงมาใช้งาน  เปลี่ยนหมวกใบใหม่ทุกๆ 5 ปี ส่วนการสวมหมวก ให้ปรับความตึงของสายรัดคางให้แน่นหนาเพียงพอที่หมวกจะไม่หลุดจากศีรษะกรณี ประสบอุบัติเหตุ
               
            นายวิบูลย์  สงวนพงศ์  อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า แม้หมวกนิรภัยจะไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่การสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี เมื่อประสบอุบัติเหตุ นอกจากจะช่วยป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะได้ถึงร้อยละ 70 แล้ว  ยังป้องกันการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 40  เพื่อความปลอดภัย ขอแนะวิธีเลือกใช้และการสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธี ดังนี้  การเลือกใช้หมวกนิรภัย ใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ  ที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับ ไม่ใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดใหญ่กว่าศีรษะ เพราะหากประสบอุบัติเหตุ จะหลุดออกจากศีรษะได้ง่าย  เลือกใช้หมวกที่มีสีสันสดใสหรือสีสว่าง จะช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไกล ไม่นำหมวกนิรภัยที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือกระแทกอย่างรุนแรงมาใช้งาน  เปลี่ยนหมวกนิรภัยใบใหม่ทุกๆ 5 ปี หรือภายหลังหมวกกระแทกพื้นหรือประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เนื่องจากวัสดุบางชิ้นอาจหมดอายุการใช้งาน การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธี  สวมหมวกนิรภัยตรงๆ บนศีรษะ ไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง โดยส่วนหน้าคลุมหน้าผากทั้งหมดจนถึงขอบคิ้ว  ส่วนที่เหลือคลุมพื้นที่บนศีรษะให้มากที่สุด ปรับความตึงของสายรัดคางให้กระชับใต้คาง (สามารถสอดนิ้วได้ประมาณ 2 นิ้ว) สายรัดข้างไม่บิดหรือหย่อน รวมถึงแน่นหนาเพียงพอ   ที่หมวกจะไม่หลุดออกจากศีรษะ หรือเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย วิธียืดอายุการใช้งาน ระวังอย่าให้หมวกนิรภัยกระแทกพื้นหรือของแข็งอย่างรุนแรง เพราะโฟมจะยุบตัวและเกิดรอยร้าว ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการรองรับแรงกระแทก  เมื่อประสบอุบัติเหตุ ไม่เก็บหมวกนิรภัยไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง กลางแจ้ง หรือใกล้แหล่งความร้อนเป็นระยะเวลานาน  รวมถึงห้ามนำทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาเคลือบสีรถยนต์มาเช็ดหมวกนิรภัย เพราะอาจทำให้โฟมด้านในละลาย ส่งผลให้หมวกนิรภัยเสื่อมสภาพเร็วขึ้น  วิธีสวมหมวกนิรภัยให้เด็กเล็ก  ผู้ปกครองควรปลูกฝังค่านิยมในการสวมหมวกนิรภัยแก่เด็ก  สวมหมวกนิรภัยให้เด็กเห็นจนเคยชิน  ไม่ล้อเลียนเวลาเด็กสวมหมวก หรือบังคับให้เด็กใส่หมวก  เลือกหมวกที่มีสีสันสวยงามหรือลวดลวยการ์ตูน  จะดึงดูดความสนใจของเด็กให้สวมใส่หมวกนิรภัยได้ง่ายขึ้น รวมถึงให้เด็กสวมใส่หมวกที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ  หากขนาดศีรษะเด็กเพิ่มขึ้น ควรเปลี่ยนหมวกใบใหม่ และทุกครั้งที่นำเด็กโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยด้วยทุกครั้ง เพื่อลดการบาดเจ็บที่ศรีษะกรณีประสบอุบัติเหตุ

ข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์

     1. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่ทุกครั้ง
     2. ไม่ควรขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง
     3. ไม่ควรบรรทุกนํ้าหนักสิ่งของหรือคนโดยสารมากเกิน จนทำให้รถทรงตัวไม่ดี
     4. การขับขี่ควรชิดทางด้านซ้ายบายพาหนะอื่นๆ ยกเว้นกรณีที่ต้องเลี้ยวขวา ควรให้สัญญาณไฟก่อนเปลี่ยนช่องทาง
     5. หลีกเลี่ยงการขับขี่ระหว่างช่องทางเดินรถ
     6. อย่าเร่งเครื่องให้เกิดเสียงดังเกินควร ควรติดตั้งเครื่องลดเสียงที่ท่อไอเสีย
     7. ขับขี่ด้วยความระมัดระวังบริเวณทางแยกหรืออกจากซอย(70% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะเกิดตรงทางแยก)
     8. ดูกระจกส่องข้างและให้สัญญาณไฟทุกครั้ง ถ้าต้องการเปลี่ยนช่องทางเดินรถ
     9. ขับรถให้ช้าลงในที่เป็นหลุมเป็นบ่อเวลาฝนตก หรือหมอกลงจัด และควรเปิดไฟขณะขับขี่
    10. ชะลอความเร็วลง ถ้ามีคนหรือสุนัขวิ่งในถนน หรือวิ่งตัดหน้า
    11. งดการดื่มสุราก่อนการขับขี่
    12. รถต้องมีเลขทะเบียนท้ายรถ และต่ออายุป้ายวงกลม เสียภาษีรถจักรยานยนต์ทุกปี
    13. อย่าลืมพกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกปี
    14. ตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะขับขี่เสมอ

แนะวิธีเลือกหมวกกันน็อค สำหรับพ่อแม่

         เพื่อความปลอดภัยในฐานะผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักยานยนต์ การเลือกซื้อสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง ควรเลือกซื้อหมวกกันน็อคที่มีสัญลักษณ์ มอก. และมีข้อแนะนำ 10 ประการ คือ

 1. หมวกกันน็อคที่สามารถปกป้องศีรษะและใบหน้าได้ดีที่สุด คือ หมวกนิรภัยชนิดเต็มใบ รองลงมาคือชนิดเปิดหน้า

 2. หมวกกันน็อคควรมีแผ่นกันลมที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ และควรใช้ชนิดใสในเวลากลางคืน และสีทึบในเวลากลางวัน

 3. ควรตรวจสอบความหนาของเปลือกนอก ไม่ควรต่ำกว่า 4 มิลลิเมตร มีสีสดและสะท้อนแสงได้ เพื่อผู้ขับขี่คนอื่นเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะในเวลาค่ำ และไม่มีส่วนยื่นออกจากผิวชั้นนอกของหมวกกันน็อคเกินกว่า 5 มิลลิเมตร

 4. ควรตรวจสอบความแข็งและความหนาของโฟมซึ่งควรมีความหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตรขึ้นไป เนื้อโฟมแข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลง

 5. ควรใช้มือคลำโฟมส่วนหน้าของหมวกกันน็อค หากมีรอยคว้านมากกว่า 1 เซนติเมตรขึ้นไปไม่ควรใช้ เนื่องจากจะเป็นจุดอ่อนของหมวกบริเวณนั้น ทำให้ได้รับอันตรายต่อศีรษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

 6. ควรตรวจสอบการติดตั้งสายรัดคาง และเลือกชนิดที่เป็นโลหะกับโลหะด้วยกัน

 7. ควรตรวจสอบตัวยึดสายรัดคาง และเลือกชนิดที่เป็นรูปครึ่งวงกลม 2 ชิ้นด้วยกัน หรือระหว่างโลหะกับโลหะ ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่ทำด้วยพลาสติก เนื่องจากชำรุดได้ง่าย

 8. ควรสวมหมวกกันน็อคก่อนซื้อ ไม่ควรใช้ที่หมวกที่หลวมหรือคับเกินไป

 9. หากเกิดอุบัติเหตุ และหมวกกันน็อคได้รับแรงกระแทกแล้ว จะต้องเลือกซื้อหมวกใบใหม่ทันที ไม่ควรนำมาใช้อีก

 10. ไม่ควรแขวนหมวกกันน็อคใกล้กับถังน้ำมัน เพราะไอระเหยของน้ำมันจะทำให้โฟมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

ข้อดีของหมวกกันน็อค

        สำหรับหมวกกันน็อคที่ออกแบบและผลิตอย่างได้มาตรฐาน ภายในจะมีโฟม ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหดได้ เมื่อเกิดการชนและกระแทกจากของแข็ง โฟมที่อยู่ภายในหมวกกันน็อคจะถูกอัดกระแทก ยืดเวลาที่ศีรษะใช้ก่อนหยุดเคลื่อนไหวออกไปประมาณ 6 มิลลิวินาที มีผลในการควบคุมพลังงานจากการชน หมวกกันน็อคยังจะกระจายแรงการกระแทกไปยังพื้นที่ที่กว้างขึ้น ทำให้แรงกระแทกไม่ไปรวมอยู่ ณ พื้นที่เล็กๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกะโหลกเท่านั้น ทำให้แรงกระแทกต่อเนื้อสมองลดลง แรงหมุนและความตึงเครียดภายในก็จะลดลงด้วย

        นอกจากนั้น หากลองเปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่างการสวมหมวกกันน็อคกับไม่สวมหมวกแล้วพบว่า การสวมหมวกนิรภัย ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการบาดเจ็บลงได้ประมาณ 72% ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ถึง 39% แต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถจักรยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ และลดค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับอุบัติเหตุ

ประเภทของหมวกกันน็อค

หมวกกันน็อคนั้นเป็นได้ทั้งเครื่องป้องกันที่สำคัญ และยังสามารถเป็นเครื่องประดับขณะขับขี่ได้อีกด้วย ก่อนจะเลือกซื้อหมวกกันน็อคสักอัน เรามาเข้าใจถึงประเภทต่างๆของหมวกกันน็อค ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้ตรงกับความต้องการของเราที่สุดทั้งรูปร่าง ราคา และความปลอดภัย โดยหมวกกันน็อคเองก็มีอยู่หลายแบบ หลายประเภท ซึ่งถ้าแบ่งตามมาตรฐานสากลจะสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 5 แบบ ดังนี้

หมวกกันน็อคแบบเต็มหน้า (FULL FACE HELMET)

หมวกกันน็อคแบบเต็มหน้านั้นออกแบบมาให้รับกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ปกป้องครอบคลุมตั้งแต่ท้ายทอยไปจนถึงปลายคาง มีช่องเจาะบริเวณตาและจมูกเพื่อให้มองเห็นและหายใจได้สะดวก ปิดด้วยกระจกบังลม ซึ่งอาจมีสีที่แตกต่างกันออกไป แต่กฎหมายไทยระบุว่ากระจกบังลมต้องใสพอจะมองเห็นใบหน้าผู้ขับขี่ได้ ไม่เช่นนั้นก็อาจโดนปรับเช่นกัน นอกจากนี้ หมวกกันน็อกชนิดเต็มใบหน้ายังมีผลการวิจัยชี้ว่าสามารถปกป้องผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์มักบาดเจ็บที่บริเวณคางมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นทรงยอดนิยม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน


หมวกกันน็อคแบบออฟโร้ดหรือแบบมอเตอร์ครอส (OFF ROAD, MOTOCROSS HELMET)

หมวกกันน็อคชนิดนี้ดัดแปลงมาจากแบบเต็มหน้าเพื่อใช้ขี่แบบออฟโร้ดโดยเฉพาะ เน้นความโปร่งสบายพร้อมกระบังยื่นด้านหน้าเพื่อช่วยบังแดด มองทางข้างหน้าได้ชัดเจน มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้า โดยเพิ่มส่วนบังแดดและยืดบริเวณที่ปิดคางออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวมาขณะขับขี่ แต่ได้ถอดกระจกบังลมออกเพื่อให้อากาศผ่านได้สะดวก ซึ่งผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะเลือกสวมแว่นตาครอบเพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวเข้ามาด้วย

หมวกกันน็อคแบบเต็มใบหรือเปิดหน้า (OPEN FACE HELMET)

ในต่างประเทศเรียกหมวกชนิดนี้ว่าแบบ 3/4 ซึ่งก็เรียกตามรูปร่างของมันคือครอบคลุมหัวเพียง 3 ใน 4 เท่านั้น แต่เป็นหมวกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถปกป้องได้ทั้งใบหน้าก็ตาม หมวกชนิดนี้ จะมีกระจกบังลมครอบทั้งใบ ซึ่งช่วยป้องกันฝุ่นและแมลงที่อาจรบกวนการขับขี่ของเราได้ แต่จะต่างกับแบบเต็มหน้าที่ไม่มีที่กันคาง เด่นที่ความสะดวกสบายในการสวมใส่และการถอดออก

หมวกกันน็อคแบบโมดูลา (MODULAR HELMET)

เป็นหมวกกันน็อกรูปร่างแบบเดียวกับแบบเต็มใบ แต่สามารถพับส่วนคางขึ้นมาได้ พัฒนามาจากแบบเต็มใบซึ่งไม่มีที่ปิดคาง โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในหมู่ตำรวจในต่างประเทศ เพราะสามารถเปิดบริเวณปากเพื่อพูดคุยหรือแม้กระทั่งกินอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องถอดหมวก และยังให้การปกป้องบริเวณคางเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้าอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหมวกชนิดนี้ยังมีมาตรฐาน 2 แบบได้แก่ –P ซึ่งแปลว่าออกแบบให้ปกป้องบริเวณคาง กับ –NP แปลว่าไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับบริเวณคางนั่นเอง หมวกแบบนี้เป็นแบบยุคใหม่ มีการดีไซน์ที่เน้นความทันสมัย ถูกใจขาซิ่งมานักต่อนัก แต่ในไทยตอนนี้หาซื้อค่อนข้างยาก ทำให้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

หมวกกันน็อคแบบครึ่งใบ (HALF FACE HELMET)

มีลักษณะครอบเพียงด้านบนของหัวเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยงานมาตรฐานทั้ง SNELL และ DOT กำหนดเป็นขั้นต่ำสุดสำหรับผ่านมาตรฐาน โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมช่วงยุค 1960 ปัจจุบันหลายหน่วยงานในต่างประเทศยกเลิกมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหมวกชนิดนี้แล้ว เนื่องจากไม่สามารถปกป้องส่วนท้ายทอยซึ่งมีความสำคัญได้ รูปทรงจะออกแนวๆหน่อย ใส่สบายที่สุด อันตรายที่สุด

การเลือกใช้หมวกกันน็อค

โครงสร้างหมวก โดยทั่วไปแล้วเปลือกนอกของหมวกกันน็อคทำมาจากวัสดุ polycarbonate และ Plastic มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากราคาถูกส่วนวัสดุ Carbon Fiber, Carbon Kevlar, Fiberglass นั้นจะมีราคาแพงจึงจะถูกใช้เป็นโครงสร้างหมวกที่มีคุณภาพสูงและราคาแพงตามไปด้วย
ฉนวนหุ้มศีรษะ (Liner) เลือกที่ถอดและเปลี่ยน Liner ข้างในได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ สัก 2 ปีขึ้นไป Liner ย่อมบางลงไปจึงควรจะเปลี่ยนเพื่อให้กระชับขึ้นมา Liner  ด้านในควรนุ่มสบาย ควรถอดเปลี่ยนและทำความสะอาดได้ เพราะการสวมใส่หมวกกันน็อคนั้นมีความอับชิ้นสูง อาจจะมีกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
วัสดุช่วยลดแรงกระแทก (Expandable Polystyrene,EP8) ส่วนใหญ่เป็นโฟมอยู่ด้านใน Liner บางยี่ห้อเป็นแผ่นโฟมทั้งแผ่น บางยี่ห้อทำโฟมเป็นร่องเพื่อลดแรงกระแทก แต่สุดท้ายมันก็คือโฟมซึ่งสามารถแตกหักได้เสมอและมีการเสื่อมสภาพ นั้นคือเหตุผลที่สำคัญว่าทำไมเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เราจึงจำเป็นต้องมีหมวกกันน็อคใหม่
ขนาดและความพอดี ควรทดลองสวมดูก่อนซื้อ แม้ว่าจะรู้ขนาดของศีรษะตัวเองแล้วก็ตาม หมวกต้องกระชับพอดี ไม่หลวมเมื่อคาดสายรัดคางแล้ว (ควรบีบบนิดหน่อย เพราะใช้ไปสักพักฟองน้ำที่แก้มจะยุบตัวตามขนาดศีรษะ) ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองเอามือผลักหมวกดูว่าหัวเรากับหมวก หันไปด้วยกันหรือเปล่า ถ้าหันไปตามมือเฉพาะหมวก ก็แสดงว่าไม่พอดี ที่ต้องย้ำว่าต้องฟิตพอดีเพราะ หากเกิดอุติเหตุจริงๆ หมวกที่พอดีกับหัวของเราจะไม่มีช่องว่าง ให้หัวขยับได้ แรงกระแทกจะซึมซับได้ดีกว่า
มาตรฐานการรับรอง โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆ จะปิดโชว์ที่ขอบ ๆ หมวกกันน็อค  มาตรฐานความปลอดภัย สำหรับหมวกกันน็อคที่ใช้ในการขับขี่มอเตอร์ไซต์บนท้องถนนโดยตรง คือ D.O.T เป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานอื่นๆได้แก่ SNELL ของญี่ปุ่น ECE R22.05 เป็นสหภาพยุโรป (EU) ส่วน มอก. มาตรฐานของไทยนั้นกำลังจะปรับเปลี่ยนเป็นมาตรฐาน ECE R22.05 ให้สากลมากขึ้น
อื่นๆ ควรเลือกหมวกกันน็อคที่มีช่องระบายลม และควรเปิดใช้งานบ้างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรจะเลือกกระบังลมที่เป็นแบบ Anti-fog (กันฝ้า) ก็จะดีมาก สายรัดคางควรจะเป็นแบบร้อยห่วงกลับจะดีกว่าแบบอื่น แบบคลิปล็อคอาจมีโอกาสหลุดได้

9 วิธีการเลือกซื้อหมวกกันน็อค ต้องดูอะไรบ้าง

หมวกกันน็อคเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในขณะที่เราขับขี่มอเตอร์ไซด์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการป้องกันหรือแม้กระทั่งแฟชั่นในการใส่และรสนิยมของผู้ขับขี่ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อหมวกกันน็อคอย่างถูกวิธีกันนะครับ

คุณควรเข้าใจการทำงานของหมวกกันน็อคก่อนน่ะครับว่าหมวกกันน็อคหนึ่งใบมีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วนครับ

1.เปลือกนอก ( Shell ) ต้องแข็งและดูดซับแรงกระแทกได้ดี
2.ส่วนในของหมวกกันน็อคต้องทำมากจาก EPS (Styrofoam) เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่เกิดขึ้นให้เบาลง
3.ต้องแน่ใจว่าสายรัดคางสามารถใช้ได้ดี และรัดคางได้แน่น
4.หมวกที่ดีสวมใส่ต้องแน่นพอดีศรีษะและสะดวกสบาย ระบายอากาศได้ดีไม่อับชื้น
คราวนี้เราก็มาดูกันเลยว่าก่อนที่เราจะซื้อหมวกกันน็อคนั้นควรจะดูอะไรบ้าง

1.ผลิตได้ตามมาตรฐาน

เลือกใช้หมวกกันน็อคที่รับรองจากสากลแล้วว่าผลิตตามมาตรฐานของสากลและอยู่ในกฏเกณท์ของอุปกรณ์สวมใส่ที่เรียกว่าหมวก อย่าเลือกใส่หมวกกันน็อคที่ไร้มาตรฐานไม่ว่าจะเหตุผลอันใดก็ตาม เพราะว่ามันไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของคุณได้เลยเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด แน่นอนสมองของคุณจะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง สินค้าที่ไม่ได้รับมาตรฐานจะหลอกผู้บริโภคด้วยการติดสติ๊กเกอร์รับรองมาตรฐาน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ สินค้าเหล่านั้นมันไม่ได้ป้องกันอะไรได้เลยเมื่อคุณต้องการที่จะใช้มัน

หน่วยงานที่รองรับมาตรฐานมีทั้งของต่างประเทศและในประเทศเราเช่น มอก., DOT, ECE, Snell, Bsi, etc องค์กรณ์เหล่านี้จะคอยควบคุมมาตรฐานของหมวกกันน็อคที่ใช้สำหรับมอเตอร์ไซด์ ถ้ามันไม่ได้มาตรฐาน สิ่งที่คุณจะเจอนั่นก็คือ สมองของคุณจะถูกทำลาย เมื่อคุณรถล้มและหัวคุณฟาดพื้น คุณเลือกเอาแล้วกันระหว่างหมวกกันน็อคดีๆสักใบกับชีวิตของคุณ

2.การใช้งาน

เลือกสไตล์ที่คุณชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นหมวกครึ่งใบ สามส่วนสี่ใบ หรือแม้กระทั่งเต็มใบ นักขับบางคนมีความชอบในลักษณะของหมวกกันน็อคไม่เหมือนกัน คุณไม่สามารถจับใครมาเทียบมาตรฐานได้เลยว่า คนนั้นคนนี้จะชอบหมวกสไตร์ไหน แต่เมื่อเทียบกับลักษณะการใช้งานคุณก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าควรเลือกอย่างไร เช่น ถ้าเมื่อคุณต้องไปสถานที่ที่มีลมแรง คุณควรเลือกหมวกลักษณะเต็มใบ คุณเลือกครึ่งใบก็อาจจะทำให้ทรายหรือลมเข้าตาของคุณ ทำให้ตาของคุณอักเสบหรือแย่ที่สุดมันอาจจะทำให้คุณประสบอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าคุณชอบแบบโปร่งโล่งสบายๆคุณก็ต้องเลือกหมวกครึ่งใบก็แค่นั้นเอง นักขับนักแข่งส่วนใหญ่ตอนนี้มักจะเลือกหมวกที่มีลักษณะถอดประกอบได้และที่สำคัญต้องเต็มใบเท่านั้น ซึ่งสังเกตุเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน แต่หมวกครึ่งใบมักจะพบเช่นกันแต่ไม่บ่อยเพราะว่ามันไม่สามารถป้องกันอะไรได้มากเท่าหมวกเต็มใบ

3.ขนาด

เลือกแบบที่เหมาะสม ต้องสวมใส่แล้วรู้สึกสบาย หลีกเลี้ยงหมวกที่มีตำหนิ ไม่สะอาด เพราะทั้งหมดจะอยู่ที่หน้าและหัวของคุณ มันอาจจะนำพาสิ่งสกปรกมาก็เป็นได้ ที่สำคัญต้องกระชับคือเวลาคุณส่ายหัวไปมาจะรู้สึกได้ว่าหมวกไม่ขยับและไม่เลื่อน ทางที่ดีก่อนซื้อคุณต้องถามคนขายให้แน่ชัดถึงขนาดของหมวก คนขายที่ดีจะมาพร้อมคำแนะนำที่ดีเสมอ เพราะสิ่งที่คุณจ่ายไป คุณต้องได้สิ่งที่คุ้มค่า และที่สำคัญคุณควรเปลี่ยนหมวกกันน๊อคใหม่ทุกๆ 5 ปีถ้ามันไม่หายเสียก่อน

4.ชำรุดและเสื่อมคุณภาพ

เปลี่ยนหมวกกันน็อคของคุณเมื่อมันมีรอยแตก คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่าส่วนประกอบข้างในหมวกกันน็อคของคุณจะมีลักษณะเป็นโฟมซึ่งเรียกว่า Styrofoam ถ้าหมวกกันน็อคของคุณแตก เมื่อคุณประสบอุบัตเหตุจะทำให้แรงกระแทกเข้าถึงศรีษะของคุณได้แรงขึ้นเนื่องจาก วัสดุด้านนอกแตกหักเสียหาย ก็จะทำให้แรงกระแทกผ่านถึงโฟมและก็ถึงศรีษะเราได้เร็วขึ้นโดยที่หมวกกันน็อคดูดซับแรงได้น้อยลงมากๆ วิธีรักษา คือเมื่อคุณไม่ใด้ใช้หมวกกันน็อค คุณควรจะวางเก็บไว้ให้เป็นที่ ที่สำคัญควรวางไว้ที่พื้นเพราะว่าป้องกันการตกเพราะจะทำให้หมวกเสียหาย ถ้ามันแตก คุณอาจจะต้องซื้อใหม่ ซึ่งมันแพงนะ

5.แนวการมองเห็น

การมองเห็นต้องดีเยี่ยม เมื่อคุณซื้อหมวกกันน็อคสิ่งที่คุณคำนึงถึงก็คือวิสัยทัศน์ในการมองเห็น ซึ่งถ้าคุณมองถนนไม่ค่อยชัดในขณะขับขี่ ผมว่ามันไม่ดีต่อตัวคุณเลย ลักษณะหมวกที่เลือกก็ตามมาตรฐานสากลทั่วไปคือ ไม่มีรอยบุบบิดเบี้ยว วัสดุไม่แตกหักเสียหาย สายรัดยังอยู่ดีมีชัย และสำคัญมากๆกระจกที่บังหน้าคุณ คุณต้องเลือกกระจกที่มีลักษณะไม่มืดจนเกินไป แต่ควรจะมีคุณสมบัติกันแสงจากดวงอาทิตย์ด้วย เพราะฉะนั้นคุณลองสวมมันซะ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อมัน

6. ระบายอากาศได้ดี

ตรวจสอบการระบายอากาศในหมวกให้ดี การระบายอากาศส่งผลต่อความสะอาดของหมวกกันน็อค มันสำคัญมากในเรื่องของความสะอาดและถ้าคุณปล่อยให้หมวกของคุณสกปรกซึ่งจริงๆแล้วมันจะสกปรกแค่ข้างในหมวกคุณ มันจะทำให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นปะทะกับใบหน้าและรูจมูกของคุณเต็มๆ การระบายอากาศของหมวกมักจะเกิดจากวัสดุภายในหมวก (EPS) ซึ่งคุณต้องถามคนขายและผู้เชี่ยวชาญดูว่า หมวกใบนี้สะอาดพอที่จะอยู่บนหัวคุณหรือเปล่า

7. ถอดซับในออกได้

ควรเลือกหมวกที่ถอดที่ซับในออกได้ และทำความสะอาดมันซะ !! มันจะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานของหมวก ความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าคุณหมั่นทำความสะอาด ใบหน้าและเส้นผมของคุณจะแจ่มจรัส การขับขี่ทุกครั้งก็จะมีฝุ่นและเหงื่อที่เข้าไปและจะถูกสะสมสร้างความสกปรกและกลิ่นได้

8. สื่อสาร

ข้อนี้อาจจะไม่จำเป็นมากแต่ถ้ามีให้เลือกก็ควรที่จะเลือก ผู้ขับขี่บางคนชอบพูดคุยและฟังเพลงขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ซึ่งจะมีหมวกบางรุ่นที่ได้รวบรวมเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปไว้ในนั้นแล้ว ซึ่งสะดวกสบายสำหรับการขับขี่มากๆ ถ้าชีวิตคุณขาดมันไม่ได้ขนาดนั้น คุณควรหาซื้อหมวกที่มีลักษณะแบบนั้นซะ

9. หมวกกันน็อคมือสอง

อันนี้ต่างประเทศให้ความสำคัญกันมากครับเรื่องหมวกกันน็อคมือสอง ถ้าไม่จำเป็นอย่าซื้อหมวกกันน็อคมือสอง จำได้ไหมที่ผมแนะนำเกี่ยวกับการเลือกหมวกที่มีความเสียหายหรือหมวกที่แตกหัก แน่นอนแหละว่าหมวกมือสองนั้นถูก แต่คุณไม่รู้หรอกว่า ทำไมคนเหล่านั้นถึงขายหมวกให้คุณ คุณไม่มีทางทราบเลยว่า หมวกใบนั้นมีตำหนิภายในส่วนไหน หล่นมากี่ครั้ง ทำสีมาหรือเปล่า ใช้มานานหรือยัง คำถามพวกนี้คุณต้องตระหนักมันมากๆ เพราะมันมีผลกับชีวิตของคุณ เลือกมันซะ !!

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค

          ประเทศไทยมีรถมอเตอร์ไซค์มากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก โดยสัดส่วนการถือครองจักรยานยนต์สูงถึง 4 คนต่อคัน เพราะราคาไม่แพง และมีความคล่องตัวในการใช้การขับขี่จักรยานให้ปลอดภัยเราควรที่จะสวมหมวกกันน็อคเพื่อป้องกันศรีษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุวันนี้มาดูบทความที่พูดถึงเรื่องหมวกกันน็อคกันดีกว่าครับว่าสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้างสำหรับหมวกกันน็อค อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับชาวสองล้อทุกท่าน

          ข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาผู้บาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย และต่างประเทศยืนยันชัดเจนตรงกัน การสวมหมวกนิรภัยสามารถช่วยได้ คือ

         ช่วยลดความเสี่ยง และความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ 72%
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 39% ในกรณีที่ใช้ความเร็วไม่สูงมากนักขณะเกิดอุบัติเหตุ
ลดค่ารักษาพยาบาล และลดจำนวนวันที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค (Helmet)

        เมื่อพูดถึง  “helmet”  บางคนอาจนึกถึงหมวกเหล็กของอัศวินขี่ม้าในยุคโบราณเพื่อใช้ป้องกันภัยขณะต่อสู้กับข้าศึก แต่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่ได้ต่อสู้อยู่บนหลังม้าและเดินทางโดยอาศัยยานยนต์แทนม้า ผู้ขับขี่ยานยนต์ยังคงใส่ helmet หรือหมวกกันน็อคเพื่อป้องกันภัยบริเวณศีรษะราวกับอัศวินม้าเหล็กก็ไม่ปาน หมวกกันน็อคจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญนอกเหนือจากเสื้อแจ็คเก็ต  แว่นตา  ถุงมือหรือรองเท้าบู๊ตซึ่งผู้ขับขี่มอเตอร์ไซใช้ป้องกันภัยในขณะขับขี่เช่นเดียวกับเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์    แต่สำหรับนักแข่งรถแล้วหมวกกันน็อคเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยามที่นั่งอยู่ในรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง
 เมื่อเกิดอุบัติเหตุหมวกกันน็อค  สามารถป้องกันศีรษะผู้ขับขี่โดยอาศัยการดูดซับและถ่ายเทแรงกระแทกของวัสดุ วัสดุชั้นนอกหรือ “shell” ทำหน้าที่การป้องกันการเจาะกระแทกของวัสดุแหลมคมและป้องกันการเสียดสีอย่างแรง   โดยดูดซับแรงกระแทกขั้นต้นที่เกิดจากอุบัติเหตุ   วัสดุชั้นนอกนี้ทำจากพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนตขึ้นรูปด้วยวิธีการฉีดผ่านแบบ   และอาจทำมาจากไฟเบอร์กลาส   หมวกกันน็อครุ่นพิเศษที่ต้องการความแข็งมากๆ   ทำจากวัสดุคอมโพสิต (composit) ชนิด carbon – dyneema  ซึ่งเป็นเส้นใยที่แข็งแรงที่สุดเท่าที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้
หมวกกันน็อคที่ทำจากพลาสติกขนาดเบาราคาที่ถูกกว่าหมวกกันน็อคที่ทำจากไฟเบอร์กลาสและ kevar  แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า บางครั้งมีการใส่สีลงไปในเน้อพลาสติกหรือลวดลาย  จึงต้องระวังหากอยู่ใกล้เปลวไฟหรือน้ำมันส่วนวัสดุชั้นในทำจากโฟมโพลิสไตรีนที่เรียกว่า “ EPS foam “ ย่อมาจาก expanded polystyrene foam หรือเรียกว่า “ftyrofoam”   หนาประมาณ 1 นิ้ว   ชั้นโฟมนี้เป็นชิ้นส่วนสำคัญของหมวกกันน็อค   เนื่องจากโพลิสไตรีนมีสมบัติที่ไม่คืนตัวและมีการกระจายแรง   เมื่อดูดซับแรงกระแทกจึงเกิดการยุบตัวถ้าหากยิ่งดูดซับแรงกระแทกมากเท่าไหร่   การที่แรงจะส่งแรงไปถึงศีรษะผู้สวมใส่ย่อมลดน้อยลง   นอกจากนั้นชั้นภายในหมวกที่สัมผัสกับศีรษะนี้  อาจมีการบุผ้าหรือกำมะหยี่ไว้ภายในหมวกอีกชั้นหนึ่งเพื่อความนุ่มสบายยามสวมใส่อีกด้วย

          นอกจากวัสดุรับแรงกระแทกทั้ง 2 ชั้นแล้วผู้สวมใส่หมวกกันน็อค ควรพิจารณาถึงขนาดที่พอดีกับศีรษะและความกระชับของสายรัดใต้คางด้วยปัจจุบันมีการออกแบบหมวกกันน็อคหลากหลายรูปแบบ   ได้แก่ แบบครึ่งใบที่ปิดส่วนบนที่ปิดเฉพาะส่วนบนของศีรษะ แบบเต็มใบที่ปิดส่วนบนที่ปิดส่วนบน ท้ายทอย ขากรรไกร และแบบปิดเต็มหน้าไปถึงบริเวณคางของผู้สวมใส่หมวกกันน็อคบางรุ่นมีช่องเสียบหูฟังเข้ากับตัวหมวกเพื่อฟังวิทยุได้   หรือมีการเสริมด้านข้างของหมวกด้วยวงแหวนอลูมิเนียมเพื่อให้หมวกแข็งแรงขึ้นและลดแรงกระแทกด้านข้าง
  การเลือกหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั้น   มีมาตรฐานกำหนดในแต่ประเทศ   สำหรับประเทศไทยได้กำหนดเป็นมาตรฐาน มอก. 369-2539  โดยมาตรฐานได้กำหนดลักษณะที่สำคัญของหมวกกันน็อคไว้หลายประการเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดอุบัติเหตุต่อศีรษะของผู้สวมใส่เป็นสำคัญเช่น หมวกกันน็อคมาตรฐานต้องมีความแข็งแรง  น้ำหนักเบาไม่เกิน 2 กิโลกรัม   มีรูระบายอากาศ  มีช่องฟังเสียง  บังลมต้องเป็นวัตถุโปร่งใสและไม่มีสี   เป็นต้น  ดังนั้น   หมวกกันน็อคที่ผลิตขึ้นมาจึงต้องมีการทดสอบตามมาตรฐานก่อนออกจำหน่าย  ได้แก่   การทดสอบแรงกระแทกและความสามารถในการดูดซับแรงกระแทก (impact)   ความทนทานต่อการเจาะทะลุจากวัตถุมีคม  (penetration)   ความกระชับในการสวมใส่ (retention)   และการมองเห็นขณะสวมใส่   (peripheral  vision)   ซึ่งอย่างน้อยควรมีค่า 120 องศา เนื่องจากปกติค่ามุมมองการเห็นของตามนุษย์มีค่าระหว่าง 110-115 องศา ในต่างประเทศหมอกกันน็อคจำเป็นต้องมีวัสดุสะท้อนแสงตามขนาดที่กำหนดติดไว้เพี่อความปลอดภัยยามค่ำคืนอีกด้วย

ประวัติหมวกกันน็อค

 มีบางหลักฐานระบุว่าเมื่อ 900 ปีก่อนคริสตกาล ทหารเริ่มสวมหมวกกันน็อคที่ทำจากหนังหรือบรอนซ์ เพื่อป้องกันภัยขณะต่อสู้กับข้าศึกและมีการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่ง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1935 นายT.E Lawrence ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์
          คุณหมอ Huge Calms เจ้าของคนไข้ที่คอยดูแลอาการของเขารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากที่เขาได้เสียชีวิต จึงนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาให้มีหมวกนิภัย เพื่อป้องกันอันตรายอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ.1935 จนนถึงปัจจุบันผู้คนต่างให้ความสำคัญกับการใช้หมวกนิรภัยเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือเด็กจึงมีการออกแบบลวดลายต่าง ๆ มากมายที่เห็นได้ในปัจจุบัน
           ส่วนในประเทศไทย คำว่า หมวกนิรภัย ที่แปลว่าหมวกกันกระแทกนั้น เป็นศัพท์บัญญัติของหมวกกันน็อคที่เป็นคำพูดติดปากของคนทั่วไป อาจเพราะมีความหมายตรงตัวที่หมายถึง การกันกระแทกไม่ให้น็อคนั่นเอง แล้วมรีสถิติจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ระบุว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุดจากการใช้รถ 2 ล้อซึ่ง 88 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เสียชีวิตเกิดจากการไม่ได้สวมหมวกนิรภัย

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติเจ้าของBlog

       ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นาย เจริญชัย ธนเกียรติวงษ์ ชั้น ม.5/12 เลขที่ 7
อายุ 16 ปี เกิดวันที่ 26/01/42

email:sapraizaza@gmail.com

ค่านิยมหลัก 12 ประการ

  1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ เช่น ยืนตรงเคารพธงชาติ  ร้องเพลงชาติ
1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย เช่น เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชนและสังคม
1.3 ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา เช่น เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น มีส่วนร่วมหรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
    

  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 



2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากความลำเอียง  และปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา
2.2 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อืนมาเป็นของตนเอง  ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง



  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
  


3.1 ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน  และสังคม เช่น ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน



  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม




4.1 ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
4.2 แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหม่ะสม  บันทึกความรู้ วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น  ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ  เอกสาร  สิ่งพิมพ์  สื่อ  เทคโนโลยีต่างๆ  แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม  บันทึกความรู้  วิเคราะห์  ตรวจสอบจากสิ่งที่เรียนรู้  สรุปเป็นองค์ความรู้  และแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน



  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม




5.1 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที เช่น แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย  มีสัมมาคารวะ   กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย  และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและแนะนำ มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย


  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน


  
  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
  

  8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
    

  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 


9.1 ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน เช่น  เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ  และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
9.2 ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น  ทุ่มเททำงาน  อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ และชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ


  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
10.1 ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  รอบคอบ  มีคุณธรรม เช่น ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น  เงิน  สิ่งของ เครื่องใช้  ฯลฯ  อย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม  ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด  คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี  ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผลและไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิด
10.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่น วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้  ข้อมูล ข่าวสารและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



  11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 



  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

12.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วความเต็มใจ  อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ  ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่
12.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม เช่น ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น