หน้าเว็บ

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 8

สมาชิก

1. นายเจริญชัย  ธนเกียรติวงษ์ เลขที่ 7

2. นาย ศักดิธัช  คงกัลป์ เลขที่ 11

3. นาย สรรเพชร  ชื่นชอบ เลขที่ 14

ชั้น ม.5/12


วิธีดำเนินการ  

1.เลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ

 2.ประชุมกันในกลุ่มเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงาน และให้ทุกคนหาข้อมูลในการดำเนินงานครั้งนี้ ได้แก่

· ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการหมวกนิรภัย

· ทำแบบสอบถามกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์

· ศึกษาวิธีการทำ stop motion

·ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อและสร้างstop motion

3.รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข

4.ร่างแบบเค้าโครงโครงงานอย่างคร่าวๆ

5.นำร่างเค้าโครงไปปรึกษาอาจารย์ เพื่อรับคำแนะนำและข้อควรปรับปรุง

6.นำคำแนะนำและข้อควรปรับปรุงในการทำโครงงานจากอาจารย์มาใช้ในการแก้ไขโครงงาน

7.ลงมือทำ stopmotion

8.นำเสนอโครงงานและแก้ไขพัฒนาข้อบกพร่องต่อไป


ผลการดำเนินการ

จากการที่ได้ลงมือศึกษาและทำโครงงานชิ้นนี้ทำให้พวกเราได้รับความรู้ในหลายอย่างๆ เช่น


1.รู้ถึงอันตรายของการไม่สวมหมวกนิภัย สาเหตุที่เกิดปัญหา และทำให้เกิดกระบวนการคิดในการช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา

2.รู้ขั้นตอนวิธีทำstop motion และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเพิ่มรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในวิชาอื่นๆให้มีความน่าสนใจมากขึ้นจากการศึกษาการทำ stopmotion

3.ได้ลงมือปฏิบัติงานจริงในการเก็บแบบสอบถาม ฝึกทักษะในด้านต่างๆได้จริง

4.ฝึกความรับผิดชอบ ความสามัคคีและการทำงานร่วมกัน


แหล่งเรียนรู้

1.ศึกษาจากเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการทำstop motion

2.ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆหรือช่องทางอื่น เช่น youtube เป็นต้น


หลักฐานประกอบ




 อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=rH1sKp3MW0s



 อ้างอิง:https://www.youtube.com/watch?v=NdYJLWbbCQM


วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สวมหมวกนิรภัย ถูกวิธี ลดเจ็บ - ลดตายจากอุบัติเหตุ

            กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ และการเสียชีวิตกรณีประสบอุบัติเหตุทางถนน โดยให้ใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ ที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมาย มอก. กำกับ  ไม่นำหมวกที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือกระแทกอย่างแรงมาใช้งาน  เปลี่ยนหมวกใบใหม่ทุกๆ 5 ปี ส่วนการสวมหมวก ให้ปรับความตึงของสายรัดคางให้แน่นหนาเพียงพอที่หมวกจะไม่หลุดจากศีรษะกรณี ประสบอุบัติเหตุ
               
            นายวิบูลย์  สงวนพงศ์  อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า แม้หมวกนิรภัยจะไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่การสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี เมื่อประสบอุบัติเหตุ นอกจากจะช่วยป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะได้ถึงร้อยละ 70 แล้ว  ยังป้องกันการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 40  เพื่อความปลอดภัย ขอแนะวิธีเลือกใช้และการสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธี ดังนี้  การเลือกใช้หมวกนิรภัย ใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ  ที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับ ไม่ใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดใหญ่กว่าศีรษะ เพราะหากประสบอุบัติเหตุ จะหลุดออกจากศีรษะได้ง่าย  เลือกใช้หมวกที่มีสีสันสดใสหรือสีสว่าง จะช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไกล ไม่นำหมวกนิรภัยที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือกระแทกอย่างรุนแรงมาใช้งาน  เปลี่ยนหมวกนิรภัยใบใหม่ทุกๆ 5 ปี หรือภายหลังหมวกกระแทกพื้นหรือประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เนื่องจากวัสดุบางชิ้นอาจหมดอายุการใช้งาน การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธี  สวมหมวกนิรภัยตรงๆ บนศีรษะ ไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง โดยส่วนหน้าคลุมหน้าผากทั้งหมดจนถึงขอบคิ้ว  ส่วนที่เหลือคลุมพื้นที่บนศีรษะให้มากที่สุด ปรับความตึงของสายรัดคางให้กระชับใต้คาง (สามารถสอดนิ้วได้ประมาณ 2 นิ้ว) สายรัดข้างไม่บิดหรือหย่อน รวมถึงแน่นหนาเพียงพอ   ที่หมวกจะไม่หลุดออกจากศีรษะ หรือเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย วิธียืดอายุการใช้งาน ระวังอย่าให้หมวกนิรภัยกระแทกพื้นหรือของแข็งอย่างรุนแรง เพราะโฟมจะยุบตัวและเกิดรอยร้าว ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการรองรับแรงกระแทก  เมื่อประสบอุบัติเหตุ ไม่เก็บหมวกนิรภัยไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง กลางแจ้ง หรือใกล้แหล่งความร้อนเป็นระยะเวลานาน  รวมถึงห้ามนำทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาเคลือบสีรถยนต์มาเช็ดหมวกนิรภัย เพราะอาจทำให้โฟมด้านในละลาย ส่งผลให้หมวกนิรภัยเสื่อมสภาพเร็วขึ้น  วิธีสวมหมวกนิรภัยให้เด็กเล็ก  ผู้ปกครองควรปลูกฝังค่านิยมในการสวมหมวกนิรภัยแก่เด็ก  สวมหมวกนิรภัยให้เด็กเห็นจนเคยชิน  ไม่ล้อเลียนเวลาเด็กสวมหมวก หรือบังคับให้เด็กใส่หมวก  เลือกหมวกที่มีสีสันสวยงามหรือลวดลวยการ์ตูน  จะดึงดูดความสนใจของเด็กให้สวมใส่หมวกนิรภัยได้ง่ายขึ้น รวมถึงให้เด็กสวมใส่หมวกที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ  หากขนาดศีรษะเด็กเพิ่มขึ้น ควรเปลี่ยนหมวกใบใหม่ และทุกครั้งที่นำเด็กโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยด้วยทุกครั้ง เพื่อลดการบาดเจ็บที่ศรีษะกรณีประสบอุบัติเหตุ

ข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์

     1. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่ทุกครั้ง
     2. ไม่ควรขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง
     3. ไม่ควรบรรทุกนํ้าหนักสิ่งของหรือคนโดยสารมากเกิน จนทำให้รถทรงตัวไม่ดี
     4. การขับขี่ควรชิดทางด้านซ้ายบายพาหนะอื่นๆ ยกเว้นกรณีที่ต้องเลี้ยวขวา ควรให้สัญญาณไฟก่อนเปลี่ยนช่องทาง
     5. หลีกเลี่ยงการขับขี่ระหว่างช่องทางเดินรถ
     6. อย่าเร่งเครื่องให้เกิดเสียงดังเกินควร ควรติดตั้งเครื่องลดเสียงที่ท่อไอเสีย
     7. ขับขี่ด้วยความระมัดระวังบริเวณทางแยกหรืออกจากซอย(70% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะเกิดตรงทางแยก)
     8. ดูกระจกส่องข้างและให้สัญญาณไฟทุกครั้ง ถ้าต้องการเปลี่ยนช่องทางเดินรถ
     9. ขับรถให้ช้าลงในที่เป็นหลุมเป็นบ่อเวลาฝนตก หรือหมอกลงจัด และควรเปิดไฟขณะขับขี่
    10. ชะลอความเร็วลง ถ้ามีคนหรือสุนัขวิ่งในถนน หรือวิ่งตัดหน้า
    11. งดการดื่มสุราก่อนการขับขี่
    12. รถต้องมีเลขทะเบียนท้ายรถ และต่ออายุป้ายวงกลม เสียภาษีรถจักรยานยนต์ทุกปี
    13. อย่าลืมพกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกปี
    14. ตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะขับขี่เสมอ

แนะวิธีเลือกหมวกกันน็อค สำหรับพ่อแม่

         เพื่อความปลอดภัยในฐานะผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักยานยนต์ การเลือกซื้อสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง ควรเลือกซื้อหมวกกันน็อคที่มีสัญลักษณ์ มอก. และมีข้อแนะนำ 10 ประการ คือ

 1. หมวกกันน็อคที่สามารถปกป้องศีรษะและใบหน้าได้ดีที่สุด คือ หมวกนิรภัยชนิดเต็มใบ รองลงมาคือชนิดเปิดหน้า

 2. หมวกกันน็อคควรมีแผ่นกันลมที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ และควรใช้ชนิดใสในเวลากลางคืน และสีทึบในเวลากลางวัน

 3. ควรตรวจสอบความหนาของเปลือกนอก ไม่ควรต่ำกว่า 4 มิลลิเมตร มีสีสดและสะท้อนแสงได้ เพื่อผู้ขับขี่คนอื่นเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะในเวลาค่ำ และไม่มีส่วนยื่นออกจากผิวชั้นนอกของหมวกกันน็อคเกินกว่า 5 มิลลิเมตร

 4. ควรตรวจสอบความแข็งและความหนาของโฟมซึ่งควรมีความหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตรขึ้นไป เนื้อโฟมแข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลง

 5. ควรใช้มือคลำโฟมส่วนหน้าของหมวกกันน็อค หากมีรอยคว้านมากกว่า 1 เซนติเมตรขึ้นไปไม่ควรใช้ เนื่องจากจะเป็นจุดอ่อนของหมวกบริเวณนั้น ทำให้ได้รับอันตรายต่อศีรษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

 6. ควรตรวจสอบการติดตั้งสายรัดคาง และเลือกชนิดที่เป็นโลหะกับโลหะด้วยกัน

 7. ควรตรวจสอบตัวยึดสายรัดคาง และเลือกชนิดที่เป็นรูปครึ่งวงกลม 2 ชิ้นด้วยกัน หรือระหว่างโลหะกับโลหะ ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่ทำด้วยพลาสติก เนื่องจากชำรุดได้ง่าย

 8. ควรสวมหมวกกันน็อคก่อนซื้อ ไม่ควรใช้ที่หมวกที่หลวมหรือคับเกินไป

 9. หากเกิดอุบัติเหตุ และหมวกกันน็อคได้รับแรงกระแทกแล้ว จะต้องเลือกซื้อหมวกใบใหม่ทันที ไม่ควรนำมาใช้อีก

 10. ไม่ควรแขวนหมวกกันน็อคใกล้กับถังน้ำมัน เพราะไอระเหยของน้ำมันจะทำให้โฟมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

ข้อดีของหมวกกันน็อค

        สำหรับหมวกกันน็อคที่ออกแบบและผลิตอย่างได้มาตรฐาน ภายในจะมีโฟม ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหดได้ เมื่อเกิดการชนและกระแทกจากของแข็ง โฟมที่อยู่ภายในหมวกกันน็อคจะถูกอัดกระแทก ยืดเวลาที่ศีรษะใช้ก่อนหยุดเคลื่อนไหวออกไปประมาณ 6 มิลลิวินาที มีผลในการควบคุมพลังงานจากการชน หมวกกันน็อคยังจะกระจายแรงการกระแทกไปยังพื้นที่ที่กว้างขึ้น ทำให้แรงกระแทกไม่ไปรวมอยู่ ณ พื้นที่เล็กๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกะโหลกเท่านั้น ทำให้แรงกระแทกต่อเนื้อสมองลดลง แรงหมุนและความตึงเครียดภายในก็จะลดลงด้วย

        นอกจากนั้น หากลองเปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่างการสวมหมวกกันน็อคกับไม่สวมหมวกแล้วพบว่า การสวมหมวกนิรภัย ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการบาดเจ็บลงได้ประมาณ 72% ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ถึง 39% แต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถจักรยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ และลดค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับอุบัติเหตุ

ประเภทของหมวกกันน็อค

หมวกกันน็อคนั้นเป็นได้ทั้งเครื่องป้องกันที่สำคัญ และยังสามารถเป็นเครื่องประดับขณะขับขี่ได้อีกด้วย ก่อนจะเลือกซื้อหมวกกันน็อคสักอัน เรามาเข้าใจถึงประเภทต่างๆของหมวกกันน็อค ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้ตรงกับความต้องการของเราที่สุดทั้งรูปร่าง ราคา และความปลอดภัย โดยหมวกกันน็อคเองก็มีอยู่หลายแบบ หลายประเภท ซึ่งถ้าแบ่งตามมาตรฐานสากลจะสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 5 แบบ ดังนี้

หมวกกันน็อคแบบเต็มหน้า (FULL FACE HELMET)

หมวกกันน็อคแบบเต็มหน้านั้นออกแบบมาให้รับกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ปกป้องครอบคลุมตั้งแต่ท้ายทอยไปจนถึงปลายคาง มีช่องเจาะบริเวณตาและจมูกเพื่อให้มองเห็นและหายใจได้สะดวก ปิดด้วยกระจกบังลม ซึ่งอาจมีสีที่แตกต่างกันออกไป แต่กฎหมายไทยระบุว่ากระจกบังลมต้องใสพอจะมองเห็นใบหน้าผู้ขับขี่ได้ ไม่เช่นนั้นก็อาจโดนปรับเช่นกัน นอกจากนี้ หมวกกันน็อกชนิดเต็มใบหน้ายังมีผลการวิจัยชี้ว่าสามารถปกป้องผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์มักบาดเจ็บที่บริเวณคางมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นทรงยอดนิยม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน


หมวกกันน็อคแบบออฟโร้ดหรือแบบมอเตอร์ครอส (OFF ROAD, MOTOCROSS HELMET)

หมวกกันน็อคชนิดนี้ดัดแปลงมาจากแบบเต็มหน้าเพื่อใช้ขี่แบบออฟโร้ดโดยเฉพาะ เน้นความโปร่งสบายพร้อมกระบังยื่นด้านหน้าเพื่อช่วยบังแดด มองทางข้างหน้าได้ชัดเจน มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้า โดยเพิ่มส่วนบังแดดและยืดบริเวณที่ปิดคางออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวมาขณะขับขี่ แต่ได้ถอดกระจกบังลมออกเพื่อให้อากาศผ่านได้สะดวก ซึ่งผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะเลือกสวมแว่นตาครอบเพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวเข้ามาด้วย

หมวกกันน็อคแบบเต็มใบหรือเปิดหน้า (OPEN FACE HELMET)

ในต่างประเทศเรียกหมวกชนิดนี้ว่าแบบ 3/4 ซึ่งก็เรียกตามรูปร่างของมันคือครอบคลุมหัวเพียง 3 ใน 4 เท่านั้น แต่เป็นหมวกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถปกป้องได้ทั้งใบหน้าก็ตาม หมวกชนิดนี้ จะมีกระจกบังลมครอบทั้งใบ ซึ่งช่วยป้องกันฝุ่นและแมลงที่อาจรบกวนการขับขี่ของเราได้ แต่จะต่างกับแบบเต็มหน้าที่ไม่มีที่กันคาง เด่นที่ความสะดวกสบายในการสวมใส่และการถอดออก

หมวกกันน็อคแบบโมดูลา (MODULAR HELMET)

เป็นหมวกกันน็อกรูปร่างแบบเดียวกับแบบเต็มใบ แต่สามารถพับส่วนคางขึ้นมาได้ พัฒนามาจากแบบเต็มใบซึ่งไม่มีที่ปิดคาง โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในหมู่ตำรวจในต่างประเทศ เพราะสามารถเปิดบริเวณปากเพื่อพูดคุยหรือแม้กระทั่งกินอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องถอดหมวก และยังให้การปกป้องบริเวณคางเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้าอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหมวกชนิดนี้ยังมีมาตรฐาน 2 แบบได้แก่ –P ซึ่งแปลว่าออกแบบให้ปกป้องบริเวณคาง กับ –NP แปลว่าไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับบริเวณคางนั่นเอง หมวกแบบนี้เป็นแบบยุคใหม่ มีการดีไซน์ที่เน้นความทันสมัย ถูกใจขาซิ่งมานักต่อนัก แต่ในไทยตอนนี้หาซื้อค่อนข้างยาก ทำให้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

หมวกกันน็อคแบบครึ่งใบ (HALF FACE HELMET)

มีลักษณะครอบเพียงด้านบนของหัวเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยงานมาตรฐานทั้ง SNELL และ DOT กำหนดเป็นขั้นต่ำสุดสำหรับผ่านมาตรฐาน โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมช่วงยุค 1960 ปัจจุบันหลายหน่วยงานในต่างประเทศยกเลิกมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหมวกชนิดนี้แล้ว เนื่องจากไม่สามารถปกป้องส่วนท้ายทอยซึ่งมีความสำคัญได้ รูปทรงจะออกแนวๆหน่อย ใส่สบายที่สุด อันตรายที่สุด

การเลือกใช้หมวกกันน็อค

โครงสร้างหมวก โดยทั่วไปแล้วเปลือกนอกของหมวกกันน็อคทำมาจากวัสดุ polycarbonate และ Plastic มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากราคาถูกส่วนวัสดุ Carbon Fiber, Carbon Kevlar, Fiberglass นั้นจะมีราคาแพงจึงจะถูกใช้เป็นโครงสร้างหมวกที่มีคุณภาพสูงและราคาแพงตามไปด้วย
ฉนวนหุ้มศีรษะ (Liner) เลือกที่ถอดและเปลี่ยน Liner ข้างในได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ สัก 2 ปีขึ้นไป Liner ย่อมบางลงไปจึงควรจะเปลี่ยนเพื่อให้กระชับขึ้นมา Liner  ด้านในควรนุ่มสบาย ควรถอดเปลี่ยนและทำความสะอาดได้ เพราะการสวมใส่หมวกกันน็อคนั้นมีความอับชิ้นสูง อาจจะมีกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
วัสดุช่วยลดแรงกระแทก (Expandable Polystyrene,EP8) ส่วนใหญ่เป็นโฟมอยู่ด้านใน Liner บางยี่ห้อเป็นแผ่นโฟมทั้งแผ่น บางยี่ห้อทำโฟมเป็นร่องเพื่อลดแรงกระแทก แต่สุดท้ายมันก็คือโฟมซึ่งสามารถแตกหักได้เสมอและมีการเสื่อมสภาพ นั้นคือเหตุผลที่สำคัญว่าทำไมเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เราจึงจำเป็นต้องมีหมวกกันน็อคใหม่
ขนาดและความพอดี ควรทดลองสวมดูก่อนซื้อ แม้ว่าจะรู้ขนาดของศีรษะตัวเองแล้วก็ตาม หมวกต้องกระชับพอดี ไม่หลวมเมื่อคาดสายรัดคางแล้ว (ควรบีบบนิดหน่อย เพราะใช้ไปสักพักฟองน้ำที่แก้มจะยุบตัวตามขนาดศีรษะ) ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองหันซ้ายขวาดู ทดลองเอามือผลักหมวกดูว่าหัวเรากับหมวก หันไปด้วยกันหรือเปล่า ถ้าหันไปตามมือเฉพาะหมวก ก็แสดงว่าไม่พอดี ที่ต้องย้ำว่าต้องฟิตพอดีเพราะ หากเกิดอุติเหตุจริงๆ หมวกที่พอดีกับหัวของเราจะไม่มีช่องว่าง ให้หัวขยับได้ แรงกระแทกจะซึมซับได้ดีกว่า
มาตรฐานการรับรอง โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆ จะปิดโชว์ที่ขอบ ๆ หมวกกันน็อค  มาตรฐานความปลอดภัย สำหรับหมวกกันน็อคที่ใช้ในการขับขี่มอเตอร์ไซต์บนท้องถนนโดยตรง คือ D.O.T เป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานอื่นๆได้แก่ SNELL ของญี่ปุ่น ECE R22.05 เป็นสหภาพยุโรป (EU) ส่วน มอก. มาตรฐานของไทยนั้นกำลังจะปรับเปลี่ยนเป็นมาตรฐาน ECE R22.05 ให้สากลมากขึ้น
อื่นๆ ควรเลือกหมวกกันน็อคที่มีช่องระบายลม และควรเปิดใช้งานบ้างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรจะเลือกกระบังลมที่เป็นแบบ Anti-fog (กันฝ้า) ก็จะดีมาก สายรัดคางควรจะเป็นแบบร้อยห่วงกลับจะดีกว่าแบบอื่น แบบคลิปล็อคอาจมีโอกาสหลุดได้